นโยบายของ QA สป.อว. (สกอ. เดิม)

นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

   สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2539 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ (academic freedom) และความเป็นอิสระในการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษา (institutional autonomy) ทั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกันคุณภาพจากภายนอก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้เสนอระบบ ประกันคุณภาพอุดมศึกษาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในภารกิจด้านการประกันคุณภาพและเป็นไปตาม เจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ได้มีมติเห็น ชอบด้วยกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการด้านคุณภาพการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบและกลไกที่เหมาะสม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติ ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพัฒนาให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ ในการรักษามาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นหลักการของการให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบการควบคุมคุณภาพทางวิชาการ และปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความมีเสรีภาพทางวิชาการและอิสรภาพในการดำเนินงานที่สังคมภาย นอกหรือหน่วยงานภายนอกยังคงเข้าไปตรวจสอบได้ อันจะนำมาซึ่งความมีมาตรฐานทางการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถ แข่งขันกับนานาชาติได้ ทั้งนี้โดยจะได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อกำกับดูแลและบริหารงานด้าน มาตรฐานการศึกษา ตลอดจนการให้การรับรองมาตรฐานการศึกษา

2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นภายในสถาบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้มีการสร้างกลไกการควบคุมคุณภาพ (quality control) ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่เป็นรูปธรรมขึ้น ทั้งนี้แต่ละสถาบันอาจจัดให้มีระบบการตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการขึ้นเป็นการภายในได้ตามความเหมาะสม

3. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดหลักการและแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการดำเนินการ โดยแต่ละสถาบันอาจนำไปปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของแต่ละสถาบันได้ตามความจำเป็น

4. เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละสถาบัน ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกโดยกว้างขวางและเป็นการแสดงถึงความมีคุณภาพของการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะจัดให้มีกลไกของการตรวจสอบและประเมินผลระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (quality audit) ที่แต่ละสถาบันได้จัดให้มีขึ้นทั้งในระดับสถาบัน และคณะวิชา แล้วให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาต่อไป

5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสมาคมวิชาการหรือสมาคมวิชาชีพได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

6. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลข่าวสาร และผลจากกิจกรรม การประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มาเผยแพร่ต่อสังคม ภายนอกให้ได้รับทราบถึงมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนเป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาและผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษา เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ แก่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษา มีความตื่นตัวและพัฒนาคุณภาพโดยสม่ำเสมอ


  การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา จะมีประสิทธิผล ต่อเมื่อได้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถาบัน อุดมศึกษา อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการทบทวนและติดตามกระบวนการ ดำเนินการโดยใกล้ชิด


  ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพนั้น การดำเนินการจะยึด หลักการของการให้เสรีภาพ ทางวิชาการ (Academic Freedom) และความมีอิสระในการกำหนดแนวทางใน การบริหารและดำเนินการ ของสถาบัน (Institutional Autonomy) เพื่อความมีคุณภาพภายใน สถาบันอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องพร้อมที่จะรับการ ตรวจสอบจากภายนอก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าระบบการประกันคุณภาพ ที่ได้กำหนดขึ้น จะเป็นไปตามหลักการที่ว่า หากสถาบันอุดมศึกษา สามารถควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตบัณฑิตให้เป็นไป อย่างมีคุณภาพพร้อมทั้งมีระบบของการตรวจสอบและประเมินจาก ภายนอกแล้ว คุณภาพของบัณฑิตก็จะดีด้วย




แบบสำรวจ

รายการ เหมาะสม ปรับปรุง
1.เนื้อหาสาระ
2.ความทันสมัย
3.การสืบค้น
4.การออกแบบเว็บไซต์
5.อื่น ๆ
จำนวนผู้เข้าชม Website
ผู้เข้าชมเมื่อวานนี้ : 0000
ผู้เข้าชมวันนี้ : 0000
ผู้เข้าชมสัปดาห์นี้ : 0000
ผู้เข้าชมเดือนนี้ : 0000
ผู้เข้าชมทั้งหมด : 0000
เริ่มนับวันที่ เดือน ปี